• 0

    สินค้าที่ชอบ

    ไม่มีสินค้าที่ชอบ

  • 0

    ตะกร้า

    ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Close

สมัครสมาชิก

Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.

*สมัครสมาชิกสําหรับผู้ประกอบการ จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทที่ไม่หมดอายุ

ลืมรหัสผ่าน

Please.

5 วิธีเลือกซื้อมัลติมิเตอร์แบบง่าย ๆ ซื้อแบบไหนถึงคุ้มค่า

ชี้เป้า เลือกซื้อมัลติมิเตอร์แบบไหนดี

ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรมือฉมัง ช่างไฟมืออาชีพ หรือช่างไฟมือสมัครเล่น เราขอแนะนำให้มีมัลติมิเตอร์ติดกล่องเครื่องมือเอาไว้ เนื่องด้วยเป็นเครื่องวัดไฟฟ้าที่สามารถวัดค่าไฟฟ้าได้หลากหลาย และเป็นหนึ่งในมิเตอร์หลักที่สะดวกต่อการเลือกไว้ใช้งาน ใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อมัลติมิเตอร์แบบไหนดี วันนี้เราเลยมี 5 วิธีการเลือกแบบมืออาชีพมาฝากกัน

ซื้อมัลติมิเตอร์แบบไหนดี

1. ความแม่นยำในการวัด

ความแม่นยำถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของเครื่องวัดทุกชนิด โดยเราสามารถดูได้จากค่า Resolution และ Accuracy โดยเครื่องมือวัดต่าง ๆ จะระบุความน่าเชื่อถือของเครื่องมือนั้น ๆ เอาไว้ ซึ่งเราสามารถเลือกดูได้จากค่าเหล่านี้ แน่นอนว่ายิ่งคลาดเคลื่อนน้อยมากเท่าไร ราคาของเครื่องวัดก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย ดังนั้น เราจะต้องพิจารณาความจำเป็น และค่าคลาดเคลื่อนสูงสุดที่เราสามารถรับได้ด้วยนั่นเอง

ค่าความแม่นยำที่เราควรตรวจสอบเสมอเมื่อต้องซื้อเครื่องมือวัด ได้แก่

1. ค่าการวัดปริมาณไฟฟ้าที่สามารถวัดหรือแสดงผลได้ (Full Scale: f.s.) เพราะหากว่าเราวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่สูงเกินกว่าที่เครื่องจะวัดได้ อาจจะทำให้อุปกรณ์รวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เราจะต้องทราบปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่เครื่องจะวัดได้

2. ค่าจริงที่วัดได้ โดยเป็นค่าที่บอกถึงศักยภาพของเครื่องมือวัดว่าสามารถวัดได้แม่นยำและถูกต้องแค่ไหน โดยคำนวณจากค่าความคลาดเคลื่อนจากการวัดนั่นเอง เช่น หากว่าเครื่องวัดสามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้ 200 โวลต์ แต่มีค่าความผิดพลาดอยู่ที่ ± 5 แสดงว่าค่าความจริงจะอยู่ที่ 195-205 โวลต์นั่นเอง

3. ค่าความละเอียดในการอ่านค่า (Digit: dgt.) สำหรับแบบดิจิทัลจะหมายความถึงจำนวนหลักที่แสดงผล เช่น แสดงผลเป็นตัวเลข 4 หลัก 5 หลัก แต่ถ้าเป็นแบบเข็ม อาจจะบอกว่าเป็น 4 ½ ซึ่งแสดงถึงการปรับย่านที่สูงกว่าได้

2. อ่านค่าง่าย ไม่ซับซ้อน

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องวัดแบบเข็ม หรือแบบดิจิทัล ควรจะเลือกเครื่องที่สามารถอ่านค่าง่าย ไม่ซับซ้อน และสามารถใช้งานได้ง่าย เพราะเครื่องมัลติมิเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถวัดค่าได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นวัดปริมาณความต่างศักย์กระแสตรง (DC voltage) ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC voltage) ปริมาณกระแสตรง (DC current) ความต้านทานไฟฟ้า (Electrical Resistance) และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เราจะต้องเลือกที่สามารถอ่านค่าง่าย และใช้งานไม่ซับซ้อน เพื่อป้องกันความสับสน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ใช้งานบ่อย ๆ หรือแค่ซื้อติดบ้านเอาไว้ยามซ่อมแซมหรือติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ก่อนซื้อเราควรจะทราบว่า การเลือกซื้อเครื่องแบบดิจิทัลนั้น จะสามารถอ่านค่าได้ง่ายและสะดวกมากกว่า เนื่องจากแสดงผลเป็นตัวเลขชัดเจน แตกต่างจากแบบเข็มที่มีโอกาสอ่านค่าผิดไปจากความเป็นจริงจากการมองเข็มนั่นเอง ดังนั้น หากว่าเราต้องการความแม่นยำสูง และลดความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการอ่านค่า แนะนำให้เลือกซื้อแบบดิจิทัลมากกว่าแบบเข็ม

 วิธีเลือกมัลติมิเตอร์

3. มีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลาย

ขึ้นชื่อว่าเครื่องมัลติมิเตอร์ก็ต้องมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งนอกจากจะสามารถวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าหลัก ๆ อย่างค่าความต่างศักย์ได้ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ ก็ควรดูว่าสามารถวัดได้ต่อเนื่องหรือไม่ สามารถใช้ตรวจสอบอาการไดโอดช็อตได้หรือไม่ รวมถึงการทดสอบสายไฟว่าขาดหรือชำรุดได้หรือไม่เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เครื่องที่มีฟังก์ชันมาก และคุณภาพดี ๆ จะมีราคาค่อนข้างสูง เราจึงควรเลือกฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานของเราอย่างแท้จริง

4. Average vs True-RMS

โหมดการวัดของเครื่องวัดมัลติมิเตอร์จะมีอยู่ 2 แบบหลัก ๆ คือ แบบ Average กับแบบ True-RMS

  • แบบ Average จะเป็นการวัดค่าที่เป็นเชิงเส้น มีค่าความถี่พื้นฐานอยู่ที่ 50 Hz และไม่มีฮาร์มอนิกมารบกวน และค่ายังคงเป็นกระแสตรง
  • แบบ True-RMS เหมาะแก่การวัดปริมาณกระแสไฟฟ้ากับอุปกรณ์ที่ไม่ได้เป็นเชิงเส้น อย่าง UPS หรือ Inverter การใช้เครื่องวัดแบบ Average อาจจะทำให้ค่าผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ดังนั้น หากว่าเลือกใช้เครื่องวัดแบบ True-RMS จะรวมเอาค่าฮาร์มอนิกเข้าไปด้วยนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรตรวจสอบว่างานที่ต้องการตรวจวัดมีสัญญาณฮาร์มอนิกแทรกอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีก็สามารถใช้แบบ Average ได้ แต่หากว่ามีให้เลือกใช้แบบ True-RMS จะวัดค่าที่แม่นยำมากกว่านั่นเอง

5. มาตรฐานความปลอดภัย

ข้อสุดท้ายที่สำคัญมาก ๆ ก็คือเรื่องของความปลอดภัย เพราะสิ่งหนึ่งที่เราใช้วัดก็คือ กระแสไฟฟ้า จึงควรจะคำนึงถึงค่าความปลอดภัยเป็นหลักในการเลือกซื้อ ซึ่งเครื่องวัดไฟฟ้าต่าง ๆ จะเรียกมาตรฐานความปลอดภัยว่า Measurement Categories หรือ CAT โดยแบ่งตามประเภทของการวัด และระบุแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ดังนี้

  • CAT I (Category I) เป็นการวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจรที่ผ่านการป้องกันมาระดับหนึ่งแล้ว เช่น ในเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังงานต่ำ
  • CAT II (Category II) เป็นการวัดแรงดันจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ และจุดแจกจ่ายไฟในอาคาร เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ ปลั๊กไฟ
  • CAT III (Category III) เป็นการวัดแรงดันไฟฟ้าในระดับสายส่งไฟฟ้าในอาคารที่ต่อสายโดยตรงเข้ากับระบบ เช่น แผงควบคุมไฟฟ้า เบรกเกอร์ สวิตช์ สายเคเบิล มอเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งกับที่
  • CAT IV (Category IV) เป็นการวัดแรงดันระดับสายส่งไฟฟ้านอกอาคาร ซึ่งเป็นจุดที่จ่ายไฟเข้าระบบในอาคาร

ยิ่ง Category สูง ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเสียหายของวงจรและอุปกรณ์ เราจึงควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย

เราจึงอยากแนะนำเครื่องมือวัดไฟฟ้าสำหรับช่างที่ต้องการไปใช้งานได้อย่างครบครัน ต้องไม่พลาด ดิจิตอล มัลติมิเตอร์ ของ kyoritsu รุ่น KEMD1020R, รุ่น KEMD1021R ที่สามารถวัดค่าได้หลากหลาย แม่นยำ และมีความปลอดภัยสูง ในราคาที่เข้าถึงได้ไม่แพง

สามารถเลือกซื้อได้ที่ Thai Electricity เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของแบรนด์ KYORITSU ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำของโลกที่ได้รับความไว้วางใจในคุณภาพระดับนานาชาติ