• 0

    สินค้าที่ชอบ

    ไม่มีสินค้าที่ชอบ

  • 0

    ตะกร้า

    ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Close

สมัครสมาชิก

Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.

*สมัครสมาชิกสําหรับผู้ประกอบการ จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทที่ไม่หมดอายุ

ลืมรหัสผ่าน

Please.

รู้ชัด! เบรกเกอร์ เลือกอย่างไรให้ตอบสนองการใช้งานได้เหมาะสม

ตอบชัด! ครบทุกเรื่อง “เบรกเกอร์” สำหรับที่พักอาศัย

ความปลอดภัยที่เกี่ยวกับไฟฟ้าภายในที่พักอาศัย ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะส่วนใหญ่ที่เหตุอัคคีภัยที่เกิดขึ้น มักมาจากสาเหตุกระแสไฟฟ้าในบ้านลัดวงจร
ซึ่งปัจจุบันก็มีอุปกรณ์ช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านไฟฟ้าอยู่หลายประเภท แต่ก็ไม่ใช่ทุกประเภทที่จะสามารถใช้ป้องกันไฟรั่วหรือไฟดูดได้ สำหรับใครที่เป็นมือใหม่และต้องการรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกใช้เบรกเกอร์ภายในบ้าน บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับประเภทของเบรกเกอร์ พร้อมอธิบายลักษณะการทำงานแบบเข้าใจง่าย ให้คุณรู้ลึกเรื่องการใช้งานอย่างมืออาชีพ!

ประเภทของเบรกเกอร์ที่ใช้งานภายในบ้าน

รอบรู้เรื่อง “เบรกเกอร์”

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายปราการช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้ารั่วไหลและลัดวงจร อีกทั้งยังช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสายไฟ มอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน และสำนักงานได้เป็นอย่างดี

ลักษณะการทำงานโดยทั่วไป

หน้าที่ของเบรกเกอร์จะทำการตัดกระแสไฟฟ้าให้แบบอัตโนมัติ เมื่อตรวจพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในวงจรไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการโหลดไฟเกิน กระแสไฟรั่ว ตลอดจนไฟฟ้าลัดวงจร โดยสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากด้ามจับคันโยกที่จะถูกสับลงมาในตำแหน่งของ Trip ที่เป็นจุดกึ่งกลางระหว่าง ON-OFF
โดยเบรกเกอร์ในปัจจุบันถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย เพียงแค่โยกด้ามจับไปที่ปุ่ม OFF และโยกกลับไปที่ปุ่ม ON เพื่อทำการรีเซตกระแสไฟ คล้ายกับการเปิดสวิตช์ใช้งาน โดยไม่สร้างความเสียหายใด ๆ ให้กับอุปกรณ์

เผยความแตกต่างระหว่างเบรกเกอร์และคัทเอาท์

แม้ในมุมของการทำงานระหว่างทั้งสองอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า จะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ถ้าดูถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ทั้งสองประเภท จะพบว่าระหว่างเบรกเกอร์และคัทเอาท์มีลักษณะของการตัดไฟที่แตกต่างกันไม่น้อยเลย

• เบรกเกอร์: ตัดไฟแบบอัตโนมัติทันทีเมื่อตรวจพบความผิดปกติ และสามารถรีเซตกระแสไฟได้เพียงแค่โยกด้านกลับ
• คัทเอาท์ : เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟช็อต เส้นตะกั่วที่เป็นตัวควบคุมจะละลายและขาดออก จึงต้องเปลี่ยนเส้นตะกั่วและกระบอกฟิวส์ใหม่ทุกครั้ง เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

จะเห็นได้ว่าคัทเอาท์ มีความยุ่งยากด้านการใช้งานมากกว่าอุปกรณ์อย่างเบรกเกอร์ ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ที่พักอาศัยและอาคารสมัยใหม่ ต่างหันมาใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีความสะดวกสบายมากกว่า เพราะสามารถช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อมีความผิดปกติแบบอัตโนมัติ ไร้กังวลความเสี่ยงการเกิดอัคคีภัยได้อย่างมั่นใจ และไม่ต้องคอยเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทุกครั้งที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร

ประเภทของเบรกเกอร์ที่ใช้ในบ้าน

  • • Miniature Circuit Breakers (MCB)
ลูกสกิตหรือลูกย่อย มีขนาดเล็กสำหรับใช้งานในบ้าน หรืออาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 100A ปัจจุบันมีทั้งขนาด 1, 2, 3 และ 4 Pole สามารถใช้ได้กับระบบกระแสไฟฟ้าทั้งแบบ 1 เฟสและ 3 เฟส

• Molded Case Circuit Breaker (MCCB)
MCCB ทำมาจากวัสดุฟีโนลิค (Phenolic) ห่อหุ้มด้วย Mold 2 เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ทนแรงดันได้ดี พร้อมทำหน้าที่ตัด-ต่อวงจรแบบอัตโนมัติ ใช้สำหรับป้องกันไฟรั่วและไฟฟ้าลัดวงจรทั้งยังสามารถรีเซตการทำงานได้ง่าย ๆ แค่สับคันโยกไปที่ OFF และกลับมา ON

• Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB)
ทำหน้าที่ป้องกันไฟดูดหรือไฟรั่ว โดยบริเวณตัวของเบรกเกอร์ ELCB จะมีปุ่ม Test ที่เป็นจุดสังเกตซึ่งแตกต่างจากเบรกเกอร์ทั่ว ๆ ไป ลักษณะการทำงานจะเป็นตัวปลดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดกระแสไฟรั่วในระดับที่ตรวจจับได้ นอกจากนี้ยังสามารถตัดไฟเมื่อเกิดการลัดวงจรได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ELCB ไม่สามารถตัดวงจรไฟฟ้าได้เอง หากกระแสไฟฟ้าที่ใช้ไม่เกินจากพิกัดที่ระบุไว้ นิยมนำมาใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำและเครื่องปรับอากาศ

เทคนิคการเลือกเบรกเกอร์ สำหรับใช้งานภายในบ้าน

วิธีเลือกซื้อเบรกเกอร์สำหรับที่พักอาศัย


1. สังเกตจากจำนวน Pole

ชนิดของเบรกเกอร์ที่เหมาะกับการนำมาใช้งานภายในบ้าน จะต้องดูจากจำนวน Pole ที่เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส สำหรับที่พักอาศัยโดยเฉพาะ โดยชนิดที่ตอบโจทย์จะมีดังนี้

 •  2 Pole – สำหรับระบบ 1 เฟส ป้องกันสาย line และสาย neutral มักใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มีทั้งแบบ MCB และ MCCB
 •  1 Pole – สำหรับระบบ 1 เฟส ป้องกันสาย line อย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นเบรกเกอร์ลูกย่อยที่ใช้ร่วมกับตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มักใช้ในที่พักอาศัย

2. สังเกตจากค่าพิกัดกระแส

 • Interrupting Capacitive (IC) คือ พิกัดขีดความสามารถในการทนทานต่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรสูงที่สุดของเบรกเกอร์
 • Amp Trip (AT) คือ ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน เป็นดัชนีที่บ่งบอกว่าเบรกเกอร์มีความทนทานต่อกระแสไฟฟ้าปกติได้มากเท่าไหร่
 • Amp Frame (AF) คือ พิกัดกระแสโครงหรือขนาดการทนทานของกระแสเปลือกหุ้มเบรกเกอร์ต่อไฟฟ้าลัดวงจร โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีขนาดเท่ากัน และสามารถเปลี่ยนพิกัด AMP Trip ได้โดยขนาดไม่เปลี่ยนแปลง

สำหรับค่ากระแสไฟฟ้าที่ควรเลือก จะต้องอิงมาจากขนาดของหม้อแปลงและขนาดของสายไฟที่ใช้กับวงจรภายในบ้าน โดยข้อมูลในส่วนนี้สามารถปรึกษาเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญระหว่างการเลือกซื้อ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานในอนาคต

3. สังเกตจากฟังก์ชันการใช้งาน

เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า การพิจารณาจากฟังก์ชัน ตอบโจทย์ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นระบบการป้องกัน การวัดกระแสไฟ ตลอดจนการสื่อสาร ที่ต่างก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างแม่นยำ พร้อมลดความผิดพลาดที่จะนำไปสู่เหตุไม่คาดฝันได้อย่างมั่นใจ

มองหาอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยด้านไฟฟ้าให้กับที่อยู่อาศัยไว้ใจ Thai Electricity เพราะเราเป็นศูนย์รวมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ครบครันและได้มาตรฐานมากที่สุด จึงมั่นใจได้ว่าที่นี่จะมีครบทุกเบรกเกอร์ที่บ้านต้องการ พร้อมให้คุณใช้งานได้อย่างปลอดภัย

สามารถสั่งซื้อสินค้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือเลือกชมสินค้าจริง พร้อมรับคำแนะนำการเลือกซื้อแบบมืออาชีพได้ที่สำนักงาน บนถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 10 มีที่จอดรถ เดินทางสะดวก เปิดให้บริการวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30-17.30 น.