• 0

    สินค้าที่ชอบ

    ไม่มีสินค้าที่ชอบ

  • 0

    ตะกร้า

    ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Close

สมัครสมาชิก

Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.
Please.

*สมัครสมาชิกสําหรับผู้ประกอบการ จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทที่ไม่หมดอายุ

ลืมรหัสผ่าน

Please.

ความแตกต่างของมัลติมิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ และแคลมป์มิเตอร์ ทำไมต้องมี

รู้จักมัลติมิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ และแคลมป์มิเตอร์

สำหรับวิศวกร ช่างไฟ ไม่ว่าจะเป็นช่างมืออาชีพหรือช่างในบ้าน ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับ 1 จึงต้องเลือกใช้เครื่องมือที่เป็นตัวช่วยในการวัดกระแสไฟฟ้า สำหรับการซ่อมไฟฟ้า หรืองานอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องทราบกระแสไฟฟ้า โดยมี 3 ตัวหลัก ๆ ที่ช่างมืออาชีพเลือกใช้กัน นั่นก็คือ มัลติมิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ และแคลมป์มิเตอร์ เรามาดูกันว่าแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันอย่างไร

มัลติมิเตอร์

สนใจสินค้าคลิ๊กเลย

 

 

“มัลติมิเตอร์” ตัวช่วยวัดไฟฟ้าที่หลากหลาย

หลายคนคงพอจะเดาได้จากชื่อ เพราะเมื่อมีคำว่า “Multi” นำหน้า เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าประเภทนี้ จะสามารถใช้วัดปริมาณไฟฟ้าได้หลากหลายปริมาณ ซึ่งก็เป็นตามนั้น โดยอุปกรณ์ชนิดนี้เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่ใช้สำหรับการทดสอบอุปกรณ์หรือระบบไฟฟ้าต่าง ๆ หรือการ Test Equipment ซึ่งสามารถใช้วัดปริมาณไฟฟ้าได้ทั้ง วัดแรงดัน วัดกระแส วัดความต้านทาน วัดความต่อเนื่อง วัดตัวเก็บประจุ หรือค่าอื่น ๆ ได้ภายในเครื่องเดียว

ด้วยความที่มัลติมิเตอร์สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้หลากหลาย และไม่ต้องพกเครื่องมือวัดจำนวนมาก ทำให้หลายคนนิยมซื้อเครื่องวัดชนิดนี้เอาไว้นั่นเอง

มัลติมิเตอร์ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ แบบเข็ม (Analog Multimeters) และแบบตัวเลข (Digital Multimeters)

1. Analog Multimeters

จะวัดค่าโดยการเปลี่ยนปริมาณไฟฟ้าที่วัดได้เป็นปริมาณทางกล ส่งไปให้เข็มเคลื่อนที่ไปยังค่าที่วัดได้ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจก่อนที่จะใช้งาน โดยจะสามารถใช้วัดปริมาณความต่างศักย์กระแสตรง (DC voltage) ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC voltage) ปริมาณกระแสตรง (DC current) ความต้านทานไฟฟ้า (Electrical Resistance) และวัดค่าอื่น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามรุ่นและยี่ห้อ

2. Digital Multimeters

จะวัดค่าโดยการเปลี่ยนปริมาณไฟฟ้าที่วัดได้ไปเป็นระบบดิจิทัล จากนั้นจึงแสดงบนผลบนหน้าจอ ทำให้เราทราบค่าได้ โดยสามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้แบบเดียวกับแบบเข็ม ไม่ว่าจะเป็นวัดปริมาณความต่างศักย์กระแสตรง (DC voltage) ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC voltage) ปริมาณกระแสตรง (DC current) ความต้านทานไฟฟ้า (Electrical Resistance)

ปัจจุบัน หากขึ้นชื่อว่าเป็นวิศวกร ช่างไฟ มักจะเลือกใช้แบบดิจิทัลมากกว่า เนื่องจากสามารถอ่านค่าได้ง่ายกว่า และมีความแม่นยำมากกว่า ที่สำคัญยังสามารถเชื่อมต่อและเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ได้ ทำให้สะดวกต่อการเก็บข้อมูลค่าต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

แอมป์มิเตอร์

สนใจสินค้าคลิ๊กเลย

 

“แอมป์มิเตอร์” วัดไฟฟ้าที่ไหลในวงจร

แอมป์มิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร ที่มีให้เลือกใช้งานตั้งแต่วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กเป็นมิลลิแอมป์ (mA) จนถึงขนาดใหญ่หลายพันแอมป์ (A)

เราสามารถแยกประเภทได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ แบบไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Ampmeter) และแบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Ampmeter) โดยมีหน่วยการวัดเป็นแอมป์ (A) เช่นเดียวกันซึ่งทั้งสองแบบ แต่จะมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. แบบไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Ampmeter)

เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าแบบแอนะล็อก วัดค่าโดยใช้สนามแม่เหล็กถาวรและที่เกิดขึ้นในขดลวดเคลื่อนที่ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านก็จะทำให้เข็มมิเตอร์เคลื่อนที่ไปยังค่าที่วัดได้ สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการใช้งานคือ จะต้องต่อให้ถูกขั้ว ไม่เช่นนั้นจะทำให้เข็มตีกลับและเสียหายได้ และไม่ควรต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้าโดยตรง

2. แบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Ampmeter)

การใช้งานมีความใกล้เคียงกับแบบไฟฟ้ากระแสตรง คือ ต่ออนุกรมเข้ากับวงจรที่ต้องการจะวัดหรือกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการจะวัดเช่นเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลกับเครื่องขั้วของกระแสไฟฟ้า โดยจะมีการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสก่อน ค่าที่วัดได้จะเป็นค่าเฉลี่ยกำลังสอง หรือค่า RMS (Root Mean Square)

การเลือกซื้อแอมป์มิเตอร์ ควรเลือกซื้อที่มีความแม่นยำสูง และมีความไวสูง แม้ว่าจะมีค่ากระแสไฟฟ้าน้อยก็ตาม

แคลมป์มิเตอร์

สนใจสินค้าคลิ๊กเลย

 

“แคลมป์มิเตอร์” วัดได้ไม่ต้องดับไฟ

สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบไม่ต้องดับไฟหรือหยุดการทำงานของวงจรไฟฟ้า แนะนำให้เลือกใช้งาน “แคลมป์มิเตอร์” มีลักษณะเป็นปากคีบสามารถคล้องเข้ากับสายไฟและอ่านค่าได้ทันที

แคลมป์มิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดค่ากระแสไฟฟ้า โดยที่ไม่ต้องดับไฟ หรือหยุดการทำงานของวงจรไฟฟ้า โดยจะมีส่วนที่เหมือนก้ามปู คล้องกับสายไฟและอ่านค่าได้อย่างรวดเร็วแม่นยำและปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับตัวนำไฟฟ้า สามารถวัดผ่านฉนวนได้เลย

เครื่องวัดแบบนี้มีหลากหลายประเภท ซึ่งจะมีทั้งแบบเข็ม และแบบดิจิทัลที่แสดงผลเป็นตัวเลข สามารถวัดค่าได้ทั้งกระแสไฟฟ้าตรงและสลับ รวมถึงความต้านทาน โดยเราสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการในการใช้งานของเรา โดย HI-TEK เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า KYORITSU ในประเทศไทย แหล่งรวมสินค้าช่างและเครื่องมือวัดแบบครบวงจร รวมถึงแคลมป์มิเตอร์ที่ประเภทต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

  • แบบเข็ม (Analog AC Clamp Meter) KYORITSU รุ่น KEW1109S
  • แบบดิจิทัล (Digital AC Clamp Meter) KYORITSU รุ่น KEWSNAP200
  • แบบ AC/DC แบบดิจิทัล (Digital AC/DC Clamp Meter) KYORITSU รุ่น KEWSNAP203
  • แบบ AC/DC แบบ RMS (Digital AC/DC Clamp Meter RMS) KYORITSU รุ่น KEW2117R, KEW2127R
  • แบบวัดค่ากระแสรั่วไหล (Leakage Current Clamp Meter) KYORITSU รุ่น 2431, 2432
  • แบบวัดกำลังไฟฟ้า (AC Power Clamp Meter) KYORITSU รุ่น KEW6305, KEW2060BT, KEW2062, KEW2062BT

แม้ว่าแคลมป์มิเตอร์จะเป็นเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่เราก็ควรจะเลือกใช้ที่มีคุณภาพสูง ละเอียดแม่นยำ และตรงกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย

สำหรับใครต้องการเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าที่รวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย สามารถซื้อได้ที่ Thai Electricity เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของแบรนด์ KYORITSU ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำของโลกที่ได้รับความไว้วางใจในคุณภาพระดับนานาชาติ